วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ประวัติส้มตำ

มีที่มาจากไหน ?
ส้มตำ
ส้มตำ อาหารหลักของชาวไทย บัดนี้แพร่หลายไปยังนานาชาติแล้ว
ส้มตำ เป็นอาหารที่คนอีสานชอบและกิน กินกับข้าวเหนียวหรือกินเล่น ๆก็ได้ คนภาคอีสานและภาคเหนือเรียกว่า ตำส้ม การทำส้มตำทำง่ายๆคือ นำมะละกอที่แก่จัดมาปลอกเปลือกออก ล้างเอายางออกให้สะอาดแล้วสับไปตามทางยาวของลูกมะละกอ สับได้ที่แล้วก็ซอยออกเป็นชิ้นบางๆ จะได้มะละกอเป็นเส้นเล็กๆ ปลายเรียว เมื่อได้ปริมาณมากตามต้องการแล้ว ต่อไปก็เตรียม พริก กระเทียม มะนาว น้ำปลา ถ้าเป็นส้มตำแบบอีสานแท้นั้นใช้น้ำปลาร้าแทนน้ำปลาหรือจะใช้ทั้งสองอย่าง
เมื่อเตรียมทุกอย่างครบแล้วก็นำ พริก กระเทียมมาใส่ลงในครก ใช้สากตำละเอียดพอประมาณ ใส่มะละกอที่ซอยไว้แล้วลงไป ตำให้พริก กระเทียม มะละกอคลุกเคล้ากันให้เข้ากันดี หากเตรียมมะเขือเทศและถั่วฝักยาวมาด้วยก็จะฝานผสมลงไป เติมมะนาว น้ำปลาร้า และน้ำปลา ตำคลุกเคล้ากันดีแล้ว ตักชิมรสดู เติมเปรี้ยวหรือเค็มตามต้องการ แล้วตักใส่จาน กินกับข้าวเหนียวได้พร้อมกับกับข้าวอย่างอื่น คนอีสานกินส้มตำเป็นกับข้าวได้ทุกมื้อ
ต่อมาตำส้มของชาวอีสานแพร่หลายลงมาภาคกลาง อาจเนื่องมาจากชาวอีสานมาทำงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ตำส้มแบบอีสานก็แพร่หลายในกรุงเทพและส่วนอื่นๆของประเทศไทย โดยเฉพาะร้านข้าวเหนียวส้มตำจะแพร่หลายอยู่ตามกลุ่มคนงานชาวอีสาน นอกจากส้มตำก็จะมีไก่ย่าง ปลาดุกย่างและอาหารอื่นๆด้วย ส้มตำเลยเป็นที่นิยมแพร่หลาย การทำส้มตำจึงมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับคนภาคกลาง เช่น เพิ่มน้ำตาลให้มีรสหวาน เพิ่มถั่วลิสงคั่ว และกุ้งแห้ง ตัดปลาร้าออกใช้แต่น้ำปลาเป็นต้น ส้มตำ หรือ ตำส้มจึงมีรสดั้งเดิมแบบอีสาน หรือแบบภาคกลาง เรียกว่า ตำไทย ซึ่งออกรสหวาน ยิ่งกว่านั้นยังมีการเพิ่มปูดองเข้าไปอีกเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น
ตำส้มของชาวอีสาน ไม่เฉพาะแต่มะละกอเท่านั้น ผลไม้อย่างอื่นที่ยังไม่สุกก็นำมาทำเป็นตำส้มได้ เช่นขนุนอ่อน มะม่วง มะยม เป็นต้น
ปัจจุบัน ส้มตำมิใช่แพร่หลายเฉพาะในหมู่คนไทยเท่านั้น ส้มตำแพร่หลายออกไปจนกลายเป็นอาหารที่นานาชาติรู้จักและเป็นอาหารจานโปรดของนักท่องเที่ยวที่โรงแรมชั้นหนึ่งทุกแห่ง ที่สำคัญ ทหารอเมริกันที่มารบกับเวียดนาม มาประจำที่ฐานทัพในประเทศไทย ต่างก็ติดใจตำส้มอีสาน นำไปเผยแพร่ที่อเมริกาจนรู้จักกันไปทั่วโลกทีเดียว

ส้มตำของใคร !


ใครจะไปรู้....
จะมีใครบ้างนะที่ไม่เคยกินส้มตำบ้าง ดูเหมือนคนไทยน้อยคนนักที่จะไม่เคยกินส้มตำ หรือตำส้มและเมื่อคนส่วนใหญ่กินส้มตำ ก็เลยทำให้โมเมกันว่า “ส้มตำ” เป็นอาหารประจำชาติอยู่คู่กับสังคมไทยมานาน หากแต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่? เพราะส้มตำเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง แต่มันถูกกระบวนการทางสังคมบางอย่างที่ทำให้กลายเป็นของประจำชาติที่คนในชาติรู้สึกว่ามันมีมายาวนานหรือถ้าจะใช้ภาษายากๆ ของ Eric Hobsbawm นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษว่ามันเป็น ”Invented Tradition” อันมาพร้อมกับการก่อตัวของรัฐสมัยใหม่ที่ต้องการหาศูนย์รวมและมาตรฐานให้กับคนในชาติ ของประจำชาติต่างๆ มันเลยเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ มันเกิดขึ้นพร้อมกับความรู้สึกว่ามันมีมานาน แต่ถ้าจะให้ถามว่ามีมานานเท่าไร? คนส่วนใหญ่ก็ตอบไม่ได้ที่พูดมาทั้งหมดนี่ไม่ใช่อะไรหรอกครับ เพียงแค่เราจะโยงมันเข้าสู่งานสั้นๆ ชิ้นนึงที่เคยส่งให้อาจารย์ผมยาวเมื่อนานมาแล้วเท่านั้น

ส้มตำของใคร?

บริเวณสองฝั่งโขง เป็นที่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ ไทย – ลาว โดยกลุ่มชาติพันธุ์นี้มีอาหาร/วิธีทำอาหารชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ตำส้ม” ซึ่งเป็นอาหารที่มีรสเปรี้ยวนำ ส่วนวิธีการทำนั้นคือนำอะไรก็ได้ที่หาได้ในท้องถิ่นมาทำการโขลกรวมกัน ขอให้มีรสเปรี้ยวนำก็เรียกตำส้มทั้งนั้นแต่อาหารที่รู้จักกันโดยทั่วไปในปัจจุบันว่าส้มตำ ดูเหมือนจะมีความแตกต่างจากตำส้มพอสมควร ดังจะเห็นได้จาก วัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นของที่ค่อนข้างตายตัว(มะละกอ มะเขือเทศ ถั่วลิสง ถั่วฝักยาว พริกขี้หนู ฯลฯ)มิใช่การนำเอาอะไรก็ได้มาโขลกรวมกันดังเช่นตำส้ม สุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นผู้หนึ่งที่ได้ตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับ “ส้มตำ” ว่าคนในตระกูลลาวไม่เคยเรียกชื่อนี้มาก่อน หากเป็นชื่อเกิดใหม่ในภาคกลางลุ่มน้ำเจ้าพระยา และน่าเชื่อว่าเกิดในกรุงเทพฯ เมื่อเอา มะละกอ มาตำให้ส้มหรือเปรี้ยวแบบลาว เลยเรียกชื่อกลับกันว่า ส้มตำส้มตำมะละกอ ไม่ใช่อาหารดั้งเดิมเก่าแก่ของสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ ไม่ว่าของลาว-ไทย หรือมอญ-เขมร เพราะมะละกอไม่ใช่พืชพื้นเมืองดั้งเดิมเก่าแก่ แต่เป็นพืชพันธุ์จากอเมริกาใต้ เพิ่งมีผู้นำมาปลูกแพร่หลายทางอุษาคเนย์ราวปลายกรุงศรีอยุธยา แล้วเข้าถึงประเทศไทยสมัยต้นกรุงเทพฯ เป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธถึงสถานะของมะละกอในการเป็นพืชที่สยามและภูมิภาคอุษาคเนย์นำเข้ามาจากต่างประเทศ แต่ถึงอย่างไร รายละเอียดของการนำเข้ามาก็แตกต่างกันไป และอาจมีความเป็นไปได้ว่ามะละกออันเป็นพืชที่เติบโตอยู่ในทวีปอเมริกาแทบเส้นศูนย์สูตรนั้น มิได้นำเข้ามาโดยชาวตะวันตกเพียงชาติใดชาติหนึ่ในเอกสารของโปรตุเกสระบุว่ามะละกอมีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่เทือกเขาแอนดีส เอกสารบางชิ้นกล่าวว่ามะละกอมีถิ่นกำเนิดบริเวณประเทศเม็กซิโก หรือในหมู่เกาะอินเดียตะวันตก บางชิ้นระบุว่ามีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลาง บริเวณประเทศเม็กซิโกตอนใต้และคอสตาริ นอกจากนี้ยังมีบันทึกว่าสเปนเป็นชาติที่นำมะละกอจากเม็กซิโกและเปรู ไปปลูกในอุษาคเนย์ หลังการรบชนะเม็กซิโกและเปรู โดยเรียกชื่อมะละกอว่า เมลอน ซาโปเต้ (Melon Zapote) แต่ถึงอย่างไรก็มีข้อโต้แย้งถึงการนำมะละกอเข้ามายังอุษาคเนย์จากรายงานของนายลินโซเตน นักท่องเที่ยวชาวดัตช์ในสมัยกรุงธนบุรี ว่า คนโปรตุเกสได้นำมะละกอมาปลูกที่มะละกา จากนั้นจึงนำไปปลูกที่อินเดียส่วนการเข้ามาในสยามคาดว่าน่าจะเข้ามาในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ โดยเข้ามาหลายทาง อาทิ ทางภาคใต้ อ่าวไทย รายงานส่วนหนึ่งกล่าวว่าโปรตุเกสเป็นผู้นำมะละกอเข้ามาในสยาม เอกสารอีกส่วนหนึ่งกล่าวว่าสเปนเป็นผู้นำเข้ามา แต่ถึงอย่างไรก็ตามจากที่กล่าวมาเป็นที่ชี้ชัดว่า มะละกอในฐานะวัตถุดิบของการทำส้มตำในยุคแรกเป็นพืชที่นำเข้ามาจากอีกซีกโลกหนึ่งของอุษาคเนย์ ผ่านการค้าโดยกองเรืออันเกรียงไกรเมื่อมะละกอในเข้ามาสู่สยามในปลายสมัยธนบุรี และต้นรัตนโกสินทร์ มะละกอ ก็ได้กลายเป็นพืชที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในตอนกลางของประเทศ สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้ชี้ให้เห็นของการแปรเปลี่ยนตำส้ม เป็น ส้มตำ (ทำไมชื่อถึงเปลี่ยน ?) ที่มีมะละกอเป็นวัตถุดิบหลักว่าส้มตำมะละกอมีกำเนิดในกรุงเทพฯ ราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แม้ไม่มีหลักฐานตรงๆ แต่มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์สังคม ส่อว่าคนจีนหรือ “เจ๊ก” ทำสวนมะละกอขายก่อน แล้ว “ลาว” ที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่กรุงเทพฯ ปรุงกินตามประเพณีตำส้มให้เปรี้ยวๆ” โดยมะละกอมีชื่อตามภาษาอีสาน/ลาว ว่า บักหุ่ง หรือหมากนอกจากส้มตำมะละกอจะเกิดจากการผสมผสานของคนลาวที่ถูกกวาดต้อนมายังกรุงเทพมหานครในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ 3 แล้ว การปลูกมะละกอที่ได้ขยายตัวไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ และในดินแดนลาว ยังส่งผลให้คนในท้องถิ่น ผสมผสาน มะละกอเป็นวัตถุดิบในการตำส้มอีด้วย ในงานเขียนบางชิ้นพบว่า การปลูกมะละกอในภาคอีสานของประเทศไทย มีการขยายตัวอย่างมากในช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งจากผลของการตัดถนนมิตรภาพในตอนนั้นรัฐบาลไทยให้สหรัฐอเมริกา เข้ามาตั้งฐานทัพ และตัดถนนมิตรภาพเพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงยุทโธปกรณ์ไปยังพื้นที่สู้รบ พร้อมกันนั้นได้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอไปปลูกสองข้างทางของถนนมิตรภาพ มะละกอจึงเผยแพร่ไปสู่ภาคอีสาน (Wikipedia Online Encyclopedia)
นอกจากนี้หากเราพิจารณาความเป็นพื้นถิ่นในองค์ประกอบของส้มตำแล้วจะพบว่าส่วนประกอบในส้มตำมะละกอในปัจจุบัน มีส่วนประกอบที่ไม่ใช้พืชพื้นถิ่นจำนวนมาก อาทิ มะเขือเทศ ที่มีการนำเข้ามาในสยามไม่ถึงหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา (ม.จ.สิทธิพร กฤดากร เป็นผู้หนึ่งที่ได้นำมะเขือเทศเข้ามาปลูกในสยามและทำการปรับปรุงสายพันธุ์ให้เข้ากับภูมิประเทศ) และขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองจากการส่งเสริมของภาครัฐจึงมีความเป็นไปได้ว่ามะเขือเทศในฐานะส่วนประกอบหนึ่งของส้มตำที่พบเห็นกันโดยปกติทั่วไป เป็นสิ่งที่ถูกนำมาเพิ่มเติมในภายหลัง อย่างน้อยก็น่าจะเป็นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เช่นเดียวกับพริกที่ไม่ใช้พืชพื้นถิ่นของภูมิภาคอุษาคเนย์แต่อย่างใดหากแต่เป็นพืชที่ถูกนำเข้ามาจากอเมริกากลาง (Meso America) ผ่านทางสเปนและโปรตุเกสในราวปี พ.ศ.2128 แต่จะเป็นสิ่งที่ถูกนำมาเป็นส่วนประกอบส้มตำในช่วงแรกเริ่มหรือภายหลังนั้นเป็นสิ่งที่ยังคงต่อรอการศึกษาแต่ถึงอย่างไรก็ตามเป็นสิ่งที่น่าตั้งคำถามต่อไปว่าทำไมส้มตำที่ใช้มะละกอเป็นวัตถุดิบหลักจึงได้แพร่หลายและได้รับความนิยมจากคนทั่วไปในปัจจุบัน ทำไมจึงต้องเป็นมะละกอ? และต่อจากมะละกอมีความเป็นไปได้หรือไม่ว่า ส้มตำสัมปะรด ส้มตำแครอท ส้มตำผลไม้ จะเป็นสิ่งที่แพร่หลายเฉกเช่นเดียวกับส้มตำมะละกอ และส้มตำในวันพรุ่งนี้อาจจะมีความไม่เหมือนส้มตำในวันนี้ เช่นเดียวกับส้มตำ(ตำส้ม)เมื่อวันวานที่ไม่เหมือนส้มตำในวันนี้


สุดยอดร้านส้มตำ


สุดยอดของส้มตำปูม้า ...บางแสน
ในบรรดาร้านส้มตำที่อร่อยๆ ทั่วๆไปที่เราๆท่านๆ รู้จักกันนั้น เรายังค้นพบ สุดยอดความอร่อยของส้มตำปูม้า หรือหากใช้สำนวนของหวงอี้ (ผู้แต่งเจาะเวลาหาจิ๋นซี และมังกรคู่สู้สิบทิศ) จะกล่าวว่านี่คือ "ยอดฝีมือในเหล่ายอดฝีมือ" มาดูกันว่านายสบายแนะนำครั้งนี้สุดยอดแค่ไหนครับร้านนี้ตั้งอยู่ที่หน้าวัดเป้ง อยู่ห่างจากตัวเมืองชลบุรีเพียง 10 กิโลเมตร แยกขวาจาก ถนนสุขุมวิทตรงหลักกิโลเมตรที่ 104 ทางเข้า
บางแสนตรงแยกกาแลคซี่ เลี้ยวปุ๊บให้ชิดขวา แล้วเข้าซอยทางขวาทันที ไปอีก 200 เมตร ก็ถึงดูง่าย ร้านจะอยู่ตรงข้ามวัดพอดี หรือจะโทรสอบถามเส้นทางจากทางร้านโดยตรงได้ที่เบอร์ 0 - 3874 - 8458 ร้านจะเป็นแบบบ้านคนธรรมดา ใต้ถุนโปร่ง ตามแบบฉบับบ้านไทย ที่นิยมเอาไว้เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด ก็ถูดตัดแปลงมาขายส้มตำปูม้าในที่สุด สำหรับการเดินทางจาก กทม. มาชลบุรี คลิกที่นี่ครับร้านนี้จะรู้จักกันดีเฉพาะชาวท้องถิ่น เนื่องจากร้านไม่ได้อยู่ติดกับทางผ่านไปบางแสน แต่กลับกลายเป็นแหล่งที่มีเฉพาะผู้ที่แสวงหาความอร่อยโดยแท้ มิได้ฉาบฉวยเพียงกินให้อิ่มท้องระหว่างการท่องเที่ยวเท่านั้น จากการสอบถามทราบว่าขายมา 5 ปีแล้ว (ตั้งแต่ประมาณ 2539) จากที่มีไม่กี่โต๊ะ จนถึงวันนี้รับคนได้นับ 10 - 20 โต๊ะ เจ้าของร้านทำเอง เสริฟเอง และก็กันเอง รายการที่หากพลาดที่จะสั่งมากินแล้วจะแค้นตัวเองไปชั่วชีวิตคือ ส้มตำปูม้า ไก่ย่าง ยำไข่ปู ส้มตำปูม้า มะละกอตำไม่แหลก ไม่ต้องระคายลิ้น แต่ละเส้นของมะละกอ ล้วนกรอบ อร่อยยิ่งนัก ปูที่ใส่ก็สดไม่คาว อีกทั้งกุ้งแห้ง ก็ไม่ใช่ตัวจิ๋วๆ ปูที่ใส่มาให้หลายชิ้นไม่ขี้เหนียว ถนนราคาเพียงจานละ 20 บาทเท่านั้นเอง จริงๆแล้วนอกจากส้มตำปูม้า ยังมีส้มตำปูดำ เดิมถามคนที่กินแต่ละโต๊ะก็บอกว่าอร่อยเช่นกันครับ (นายสบายแนะนำส้มตำปูม้า)จานต่อมาคือไก่ย่าง ไก่ที่นี้นับเป็นสุดยอดแห่งยุคเลยครับ โดยการนำไก่หมักกับนมสดและเครื่องเคียงอื่นๆก่อน แล้วจึงนำมาย่าง เนื้อไก่ทั้งหอม ทั้งนุ่มลิ้น หนังออกกรอบนิดๆ เมื่อกระทบลิ้นเรียกน้ำย่อยได้อย่างยอดเยี่ยมกระเทียมดอง แนะนำให้กินไก่แกล้มกับส้มตำในคำเดียวกัน ตบด้วยข้าวเหนียวหนึ่งคำ ลองดูตามสูตรนายสบาย หากไม่อร่อยโทรมาบอกนายสบายด้วยครับที่ 0-29797717 หรือ email webmaster@sabuy.com 555หมายเหตุความอร่อย: ร้านนี้แต่ละวันใช้ปู 3-4 กิโลกรัม หากเสาร์อาทิตย์ก็เกือบ 10 กิโลกรัม ขายมาห้าปีครับ

อาชีพการขายส้มตำ

อาชีพการขายส้มตำ

ทำเล ย่านชุมชนที่มีการคมนาคมสะดวก
เงินลงทุน ประมาณ 10,000 บาท - 20,000 บาท
ทุนหมุนเวียน วันละประมาณ 500 บาท
รายได้ ไม่แน่นอน แต่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้

ข้อมูล

การขายส้มตำให้คนติดใจในรสฝีมือ ต้องใช้เครื่องปรุงอย่างดีด้วย เช่น ถั่วลิสง กุ้งแห้ง และปูเค็ม เมื่อรสชาติอร่อย และส่วนผสมน่ารับประทาน ก็จะขายได้ในราคาค่อนข้างดี

ส่วนผสม

มะละกอดิบสับเป็นเส้น พริกขี้หนู กระเทียม มะนาว น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ มะเขือเทศลูกเล็ก ถั่วฝักยาว ถั่วลิสง กุ้งแห้งปูเค็ม

วิธีทำ

1. โขลกพริกขี้หนู กระเทียมให้ละเอียด
2. เด็ดถั่วฝักยาวสั้นพอประมาณ โขลกให้พอบุบเท่านั้น
3. ใส่กุ้งแห้ง ถั่วลิสง ตำพอละเอียด แล้วจึงตามด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา น้ำมะนาวตามใจชอบ
4. ใส่มะเขือเทศโขลกเบา ๆ และคลุกให้เข้ากัน
5. แล้วจึงใส่มะละกอสับลงไปคลุกเคล้ากับเครื่องที่ตำเตรียมไว้
6. ผู้ที่ชอบปูเค็มก็เพียงแต่ใส่ปูเค็มลงไปแทนกุ้งแห้ง และถั่วลิสง
7. ถ้าชอบใส่ทั้งกุ้งแห้ง ปูเค็ม และถั่วลิสงได้ นอกนั้น ยังมีส้มตำใส่ปราร้าได้อีก ขึ้นอยู่กับความชอบ

ส้มตำไร้สารพิษ

ส้มตำไร้พิษจริงหรอ ?
คนไทยแทบทุกคนชอบกิน "ส้มตำ" กันเกือบทุกวัน พยาบาลเวรดึกเป็นกลุ่มที่ชอบกินส้มตำมาก ทุกวันเวลาราวๆ ตี 2พยาบาลมักจับกลุ่มกินส้มตำแก้ง่วงแก้หิวและสนทนาเรื่องคนไข้กับการรักษาของหมอ เป็นกับแกล้ม ทำให้มีแรงดูแลคนเจ็บป่วยได้ตลอดคืนส้มตำเป็นอาหารที่อยู่ในวิถีชีวิตตั้งแต่ระดับครัวเรือนจนถึงในวัง และต่างประเทศ แต่องค์ความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการการก่อกำเนิดส้มตำยังมีหลักฐานไม่มากพอ
อาจารย์นฤมล ปัญญาวชิโรภาส จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้ทำการศึกษาเรื่อง ส้มตำ พบว่าแต่เดิมในสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชนบทมีชาวบ้านทำส้มตำมาถวาย เมื่อ 100 กว่าปีก่อน ต่อมากลายเป็นส้มตำชาววังและขยายสู่การบริโภคอย่างทั่วถึง คำว่า ส้มตำ นำมาจากองค์ประกอบของรสชาติที่เปรี้ยวจากมะนาวหรือมะขาม ผสมกับมะละกอ พริก มะเขือเทศ ปลาร้า ใบกระเทียม มะกอก ปูแสม ปูนา ฯลฯ เป็นลักษณะอาหารบูรณาการรสชาติเอร็ดอร่อยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า ส้มตำ หมายถึง ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอ เป็นต้น มาตำผสมกับเครื่องปรุงมีรสเปรี้ยว บางท้องถิ่นเรียก ตำส้ม ความคิดทั่วไป ก็คือมะละกอผสมกับเครื่องปรุงอื่นๆ ได้แก่ พริก มะนาว ปลาร้า มะเขือเทศ ปู ตำในครกเป็นของคาวกินกับข้าวเหนียวหรือขนมจีน มีผักสด ผักต้มเป็นเครื่องเคียงส้มตำมีคุณค่าทางโภชนาการ
ในส้มตำมะละกอหนึ่งจานประมาณ 100 กรัม จะให้พลังงาน 23 กิโลแคลอรี โปรตีน 1 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม ใยอาหาร 2.72 กรัมทั้งยังได้วิตามินจากส่วนประกอบและผักสดที่รับประทานกับส้มตำ อาทิ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง ไนอาซิน และวิตามินซี นอกจากคุณค่าทางโภชนาการแล้วส้มตำยังมีสรรพคุณทางยา คุณค่าจากพืชสมุนไพรที่เป็นองค์ประกอบในส้มตำอีกมากมายอาทิ มะละกอ เป็นยานำบำรุงน้ำนม ขับพยาธิ แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี น้ำเหลืองมะเขือเทศ รสเปรี้ยว เป็นผักที่ใช้แต่งสีและกลิ่นอาหาร ช่วยระบาย บำรุงผิวมะกอกรสเปรี้ยว ฝาด หวาน แก้โรคธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติ แก้บิด แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ผลสุกทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำพริกขี้หนู รสเผ็ดร้อนช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อยกระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด มะนาว เปลือกผลรสขม ช่วยขับลมน้ำในลูกรสเปรี้ยว แก้เสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต ผักแกล้มต่างๆ ได้แก่ ถั่วฝักยาว รสมันหวาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของกะเพาะลำไส้ บำรุงธาตุดินกะหล่ำปลีรสจืดเย็น กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ บำรุงธาตุไฟ ผักบุ้ง รสจืดเย็น ต้มกินไข้เป็นยาระบายทำให้อาเจียน เนื่องจากพิษของฝิ่นและสารหนูกระถิน รสมัน แก้ท้องร่วง สมานแผล ห้ามเลือด ถ่ายพยาธิมะยม ใบต้มกิน เป็นยาแก้ไข้ ช่วยดับพิษไข้ บำรุงประสาท ขับเสมหะ บำรุงอาหาร แก้พิษอีสุกอีใส โรคหัดเลือด (สถาบันการแพทย์แผนไทย,2547: info@ittm.or.th)อย่างไรก็ตาม ส้มตำไม่ใช่มีประโยชน์อย่างเดียว
พิษภัยของส้มตำก็มีมากเหมือนกันตั้งแต่การปลูกมะละกอในดินที่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือมะละกอ GMOs ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังตัดแต่งคัดแปลงชีวภาพ เพื่อแก้ปัญหาโรคจุดวงแหวนให้มีคุณภาพเหมือนพันธุ์ดั้งเดิม เช่น แขกดำ แขกนวล แต่เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคกำลังเป็นห่วงว่าเป็นการเร่งความต้องการของผู้บริโภคเกินจำเป็น เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและผลต่อสุขภาพอาจก่อให้เกิดมะเร็งร้าย ซึ่งผลการวิจัยยังไม่ได้ข้อยุติการผสมเกสรพริกและมะเขือเทศผลวิจัยของ ดร.วิเชียร เกิดสุข และคุณพัชรินทร์ ลาภานันท์ สรุปว่า ผู้หญิงและเด็กเป็นโรคโลหิตจาง 35.7% ผู้ชายได้รับสารพิษจากการพ่นฉีด ยาฆ่าแมลง 65% ผลการตรวจส้มตำปรุงขายแล้ว จำนวน 30 ร้านค้าในจังหวัดอุดรธานี พบว่า พริกกับมะเขือเทศมีสารเคมีที่เป็นศัตรูพืชอันตรายไม่ปลอดภัย ขณะที่ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ค้นพบเชื้อโรคแบคทีเรีย Salmonella ในปลาร้าที่ทำให้ท้องร่วง มีไข้ ปวดท้องรุนแรง และอาจถึงขั้นชักได้ คนกรุงเทพฯและคนในเมืองที่ธาตุอ่อนที่กินส้มตำมีพิษทั้งจะเกิดอาการได้ภายใน 12-72 ชั่วโมงส่วนคนชนบทหรือคนที่กินส้มตำมานานมีภูมิต้านทานจนธาตุแข็งก็อาจเป็นปกติ แต่การสะสมและแพร่กระจายสู่เส้นเลือดได้ในร่างกายระยะยาวนานก็ไม่ปลอดภัยเหมือนกัน ปลาร้าจึงต้องถูกหมักอย่างถูกวิธีเกิน 6 เดือน หรือต้มให้สุกเสียก่อน เชื้อ Salmonella จึงตายในน้ำปลาที่ทำจากเกลือผสมน้ำใส่สีหรือใส่กับปลาเน่าๆ ที่มีการเร่ขายโดยรถพุ่มพวง(รถกระบะที่เร่ขายอาหารถุงตามหมู่บ้าน) หรือรถน้ำปลาโดยตรงที่มีเครื่องเสียงโฆษณาน้ำปลา 3 ขวด 10 บาท หรือขวดละ 3 บาท กินแล้วไตวายสะสมสารพิษจากน้ำปลาราคาถูก แต่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นปัญหาหนักของชาวบ้านที่ต้องแก้ไขโดยการต้มน้ำปลาร้าทดแทนจะดีกว่าผงชูรสเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ใส่มากในส้มตำเป็นทัพพีเป็นช้อนๆ เพื่อสร้างรสชาติให้เอร็ดอร่อย แต่ทำให้ปากชา มือชา หัวใจสั่น จนก่อให้เกิดการสะสมสารพิษอันตรายต่อสุขภาพอาจารย์นิภาพร อามัสสา แห่งสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จังหวัดสกลนคร ก็รวบรวมองค์ความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน นำเอาผักสมุนไพรพื้นบ้าน 12 ชนิด ได้แก่ ใบผักหวาน ใบมะรุม ใบหม่อน ใบกระเทียม ใบมะขาม ใบกระเจี๊ยบ ผักโขมทั้งต้น ใบส้มป่อย ใบน้อยหน่า ใบมะม่วง ใบกุ้ยช่าย เลือกใบไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป มาทำเป็นผงนัว คำว่า นัว เป็นภาษาอีสาน หมายถึง ความอร่อย ได้รสชาติกลมกล่อมกินแล้วรู้สึกดีมีความสุข อันนี้แก้ไขปัญหาจากผงชูรสได้การใช้มือสกปรกที่ติดเชื้อโรคหยิบเส้นมะละกอใส่ครกแล้วตำๆๆ กับครกแล้วครกเล่า การชิมโดยใช้มือหยิบแล้ว น้ำลายหยดลงครกหรือสลัดมือมีเศษน้ำลงในครก การไม่ใส่ผ้ากันเปื้อน ไม่มีที่ปิดปาก ปิดจมูก สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดอัตราเสี่ยงต่อความสะอาด ปลอดภัยของส้มตำที่ใส่ภาชนะให้ผู้บริโภครับประทานในผักบุ้งน้ำกับผักก้านตรง(ก้านจอง) มีพยาธิใบไม้ยักษ์ Fasiola ซึ่ง รศ.น.พ.ชวลิต ไพโรจนกุล จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า เป็นอันตรายสามารถเจริญเติบโตในตับจนเป็นฝีที่ตับหรือทำให้ทางเดินน้ำดีอุดตัน และอักเสบจนเสียชีวิตได้ ให้แก้ไขโดยการต้มหรือล้างผักหรือน้ำส้มสายชูกับน้ำแล้วล้างน้ำอีกครั้งเรายังไม่นับสารเคมีในถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี กระเทียม น้ำตาลปิ๊บ เชื้อโรคจากปูแสม ปูนา ซึ่งข้อมูลผลการตรวจเบื้องต้นไม่พบสารเคมีในขั้นอันตราย แต่ก็ควรใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำแช่ล้างผักก่อน 1 ครั้ง และล้างด้วยน้ำเปล่าอีก 1 ครั้ง เพื่อละลายสารเคมีขณะที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายครัวโลก โดยฝึกกุ๊กดีๆ ไปทำอาหารอร่อยๆ ให้ฝรั่ง ส่งผักและผลไม้ดีๆ ปลอดสารพิษไปให้กับคนญี่ปุ่น คนฝรั่ง ได้บริโภคของถูกสุขลักษณะแต่คนไทยกว่า 30 ล้านคน บริโภคส้มตำมีพิษกันทุกวัน ทำอย่างไรให้เรื่องส้มตำ เป็นครัวท้องถิ่นสู่ครัวไทยและครัวโลก โดยคงคุณค่าโภชนาการและปลอดภัยจากสารพิษสมัชชาสุขภาพภาคอีสาน จึงจัดให้ผู้รู้ทั้งนักวิชการและภูมิปัญญาชาวบ้าน มาช่วยกันระดมองค์ความรู้และข้อเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้โดยอาศัยข้อมูลวิชาการในเรื่อง คุณค่าประโยชน์ พิษภัยขององค์ประกอบที่หลากหลายชนิดของส้มตำ มาสู่การจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ครัวท้องถิ่นสู่ครัวไทยและครัวโลกว่าด้วยส้มตำไร้สารพิษ ให้เกิดการป้องกันสารเคมี เชื้อโรค การผลิต การแปรรูป และการบริโภค ตั้งแต่ครัวเรือนสู่ร้านค้าส้มตำ ร้านอาหาร ทั่วทั้งแผ่นดินและทั่วไทย โดยจะจัดในวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2547 ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคามสำหรับข้อเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ส้มตำไร้สารพิษในเบื้องต้น ใคร่ขอเสนอแนะ ดังนี้ข้อเสนอต่อรัฐบาล นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร- ควรยกเลิกการนำเข้าสารเคมีที่ใช้ปลูกพืชผักและไม้ผลอันเป็นองค์ประกอบของส้มตำที่มีพิษต่อสุขภาพ และสภาพแวดล้อมธรรมชาติ- ควรยกเลิกการสนับสนุนมะละกอ GMOs หันมาส่งเสริมมะละกอพันธุ์พื้นบ้านให้มากขึ้น- สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนให้กับองค์กรชุมชนหรือเครือข่าย ผู้ปลูกผัก ผลไม้ปลอดสารพิษสหกรณ์ผู้ผลิตผงนัวโดยชุมชน โดยนำงบประมาณจากส่วนกลางมาจัดตั้งคณะกรรมการครัวท้องถิ่นสู่ครัวไทยและครัวโลกเพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิต การแปรรูป การฝึกทักษะการทำส้มตำให้อร่อยได้คุณภาพมาตรฐาน และสามารถส่งออกไปขายทั่วโลก ตามร้านอาหารไทย จนเกิดการบริโภคเป็นอาหารไทยระดับโลก และรายได้อย่างทั่วถึงแก่เกษตรกร โดยเน้นหนักการสนับสนุนองค์กรประชาชน หรือเครือข่ายเกษตรกรเป็นหลัก- สนับสนุนเครื่องมือเทคโนโลยีและอุปกรณ์การตรวจสารพิษและเชื้อโรคในองค์ประกอบของส้มตำให้ครบถ้วนข้อเสนอต่อกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด- ควรจัดตั้งกลไกคณะทำงานตรวจสอบสารพิษจากสารเคมีและเชื้อโรค ของส้มตำและอาหารอื่นๆ ที่กินกับส้มตำ เช่น ข้าวเหนียว ไก่ย่าง ลาบ ก้อย- ควรตรวจสอบและให้ประกาศนียบัตรแก่ร้านส้มตำไร้สารพิษ เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัย ความสะอาด ที่ได้มาตรฐานและคุณภาพที่ดีแก่สุขภาพ- ควรฝึกอบรมทักษะการตรวจสอบและการใช้เครื่องมือง่ายๆ ให้แก่ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และแกนนำสุขภาพทั่วประเทศข้อเสนอแนะต่อผู้ว่าซีอีโอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น- ควรประกาศนโยบายอาหารแบบบูรณาการว่าด้วยยุทธศาสตร์ส้มตำไร้สารพิษทุกจังหวัด- ควรสนับสนุนงบประมาณ การรณรงค์การศึกษาการฝึกอบรม การให้สินเชื่อแก่ การรวมกลุ่มของเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ผลิตผัก ผลไม้ ปุ๋ยชีวภาพ ข้าวเหนียว ผงนัว ปลอดสารพิษ รวมกลุ่มร้านค้าให้ช่วยเหลือแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและทักษะการตำให้อร่อย และสนับสนุนสถานที่รวมพลคนบริโภคอาหารปลอดภัย ส้มตำไร้สารพิษในตลาดเทศบาล ตลาดนัดและตลาดชุมชนข้อเสนอแนะต่อประชาคมสุขภาพ/สมัชชาสุขภาพ และเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน- ควรมีการพัฒนาโครงการส้มตำไร้สารพิษ โดยขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ทั้งนี้ น่าจะมีการประกาศ "100 ร้านค้า,1,000 ครัวเรือน ผู้ผลิต 10,000 ผู้บริโภค ต่อจังหวัด" เพื่อเป็นเป้าหมายนโยบาย โดยมีแผนปฏิบัติสำคัญๆ เช่น แผนสนับสนุนปัจจัยการผลิตองค์ประกอบของส้มตำ แผนแปรรูปและฝึกทักษะการตำให้อร่อย แผนรณรงค์และการปลุกจิตสำนึกการบริโภคอาหารปลอดภัย/ส้มตำไร้สารพิษ แผนการสร้างเครือข่าย การเรียนรู้ระหว่างผู้ผลิต ร้านค้าและผู้บริโภค แผนการแก้ไขปัญหาคนยากจน โดยสนับสนุนสินเชื่อในการฝึกทักษะและการขายส้มตำไร้สารพิษ เป็นต้นขณะนี้สังคมไทยกำลังปรับเปลี่ยนค่านิยมการบริโภคมาสู่อาหารปลอดภัยมากขึ้นเรื่อยๆ มีการผลิตผัก ผลไม้เป็นชนิดๆ ที่ปลอดสารเคมี โดยไปใช้ปุ๋ยชีวภาพแทน แต่ก็ยังไม่มีลักษณะบูรณาการอาหารที่อยู่ในชีวิตประจำวันส้มตำเป็นอาหารบูรณาการสำหรับทุกชนชั้น มีคุณค่าทางโภชนาการในระดับสูง แต่ถ้ายังเต็มไปด้วยสารเคมีและเชื้อโรคเฉกเช่นปัจจุบัน
สุขภาพของคนไทยย่อมอยู่ในภาวะอันตรายจึงจำเป็นต้องร่วมกันวางยุทธศาสตร์ส้มตำไร้สารพิษให้เป็นอาหารสุขภาพที่ปลอดภัยแก่คนไทยให้ได้ ซึ่งรัฐบาลผู้ว่าซีอีโอ อบจ. เทศบาล อบต. เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องร่วมกันสร้างส้มตำไร้สารพิษให้บังเกิดการบริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีแก่ทุกคน

วิธีการทำ" ส้มตำปลาร้า "

วิธีการทำ " ส้มตำปลาร้า "



เครื่องปรุง

1. มะละกอสับตามยาว 1 ถ้วย (100กรัม)

2. มะเขือเทศสีดา 3 ลูก (30 กรัม)

3. กระเทียม 10 กลีบ (30 กรัม)

4. พริกขี้หนูสด 10 เม็ด (15 กรัม)

5. น้ำมะนาว 1-2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

6. น้ำปลา 1/2 ช้อนโต๊ะ (8 กรัม)

7. น้ำปลาร้าต้มสุก 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)


ผักสด ถั่วฝักยาว กำหล่ำปลี ยอดผักบุ้ง ยอดและฝักกระถิน

วิธีทำ

- โขลกกระเทียม พริกขี้หนู พอแตก
- ใส่มะละกอ มะเขือเทศผ่าซีก ฝานมะกอกเป็นชิ้นบางใส่ลงโขลกเข้าด้วยกัน
- ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำมะนาว โขลกเบา ๆ พอเข้ากัน ชิมรสตามชอบ รับประทานกับฝักสด

วิธีการทำ" ส้มตำไทย "

วิธีการทำ " ส้มตำไทย "

ส่วนผสมส้มตำ
  • กระเทียม 1 ช.ต.
  • พริกขี้หนู 7 เม็ด
  • มะละกอดิบสับ 1/2 ถ.ต.
  • น้ำปรุงรส 3 ช.ต.
  • กุ้งแห้งป่น 1 ช.ต.
  • กุ้งแห้งตัว 3 ช.ต.
  • มะเขือสีดา 3 ลูก
  • ถั่วผักยาว 1 เส้น
  • มะนาว 1/2 ลูก
  • ถั่วลิสง 4 ช.ต.
  • มะขามเปียก 100 กรัม
  • น้ำ 3/4 ถ.ต.
  • น้ำตาลปีบ 220 กรัม
  • น้ำปลาดี 1/2 ถ.ต.

วิธีทำ

  • โขลก พริก และกระเทียมพอแหลก
  • ใส่มะละกอ ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ กุ้งแห้ง โขลกพอให้มะละกอช้ำนิดหน่อย
  • ใส่น้ำปรุงส้มตำ และแต่งรสเปรี้ยวด้วยน้ำมะนาวอีกเล็กน้อย รับประทานกับผักสด เช่น กะหล่ำปลี ผักบุ้งไทย ถั่วฝักยาว

แนะนำส้มตำ.....น่ากินมาก

ตำมะม่วงปลากรอบ


ได้ความเปรี้ยวของมะม่วงที่เฟ้นใช้มะม่วงเดือนเก้าตำใส่พริกแห้งและตะไคร้ปรุงด้วยกะปิอย่างดี และน้ำตาลปี๊บอีกนิด กลายเป็นรสชาติหอมถูกปากสำหรับคนกินกะปิเพิ่มรสด้วยปลากรอบทอดชิ้นเล็กๆที่สำคัญกินกับยอดชะอมสดแสนจะเสริมส่งรสชาติให้หอมมันยิ่งขึ้น

ส้มตำแสร้งว่า

จานนี้เป็นจานประยุกต์ สำหรับลูกค้าที่ชอบทานมะม่วง เพราะเราใช้มะม่วงมันหันเป็นชิ้นพอคำ ใส่กุ้ง และที่เด็ดที่สุดคือ มะพร้าวคั่ว ทำให้จานนี้เป็นจานที่ลูกค้าที่ชอบส้มตำแบบที่แตกต่าง ติดหนึบ



ส้มตำปูไข่ดอง


อาหารยอดนิยมที่คนไทยทุกคนชื่นชอบ ส้มตำ น่าจะเป็นหนึ่งในใจของหลายๆคน โค้งไผ่หลิว มีเมนูส้มตำหลากหลายชนิดไว้ให้ลูกค้าได้เลือกชิม










ร้านส้มตำ

ร้าน ส้มตำ หัวพาน ถนนคลองเรียน 2 ซอย 6 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทร 081-2942256
การได้รับประทานไก่ย่าง ส้มตำ ร่วมกัน ภายในกลุ่มเพื่อน ๆ นับได้ว่าเป็นเรื่องที่ดี ทานไปคุย กันไป อร่อยดี ตะลุยตามตะวัน ได้ไปทานส้มตำหัวพาน บ่อยๆ ตั้งใจ เก็บ ภาพ มาฝาก เผื่อว่าท่านมี เวลา และ โอกาส ไป เยือน หาดใหญ่ แวะ ไปทาน ส้มตำร้านนี้ รับรองไม่ผิดหวังล่าสุดขยายเวลาเป็น 10.30 - 18.00 น. หยุดวันจันทร์ โทรไปก่อนก็ดีนะ เดี๋ยว ไปแล้ว ร้าน ปิด จะเสียความตั้งใจค่ะ
ที่นี่มีทั้ง ส้มตำไทย ตำไทยใส่ปู ตำมะม่วง ตำปลาร้า ตำมะเขือเทศ ตำซั่ว ซุปหน่อไม้ ยำปูเค็ม ต้มแซบกระดูกอ่อน คอหมูย่าง ลาบหมู ลาบไก่ น้ำตกหมู ยำวุ้นเส้น ยำปลาหมึก ยำหมูยอ ยำไส้กรอก ยำรวมมิตร ปีกไก่ย่าง น่องไก่ย่าง ขนมจีนเปล่า ข้าวเหนียว ข้าวสวย, ใครทาน เผ็ดไม่ค่อย ได้ ต้องเน้น นะค่ะ ว่าไม่เผ็ด หรือ พริก 2 ไม่งั้น จะเจอ พริก 15 เผ็ด อย่าบอก ใคร เชียวละ จ้า
ร้านส้มตำหัวพาน ตั้งอยู่ที่ ถนนคลองเรียน 2 ซอย 6 ใกล้หัวสะพาน กลางๆซอย เชื่อมต่อกับ ซอย กาญจนวาณิช 18 ตรงข้าม มอ. หาดใหญ่ สงขลา เปิด 10.30-18.00 น.ร้านปิดวันจันทร์ : โทร.07-2870601 , 01-2942256ร้านอาหารร้านใด สนใจแนะนำอาหารอร่อย อยากให้ไปถ่ายทำลงเว็บ ติดต่อได้ที่ info@taluitamtawan.com ได้จ้า !

บทเพลงพระราชนิพนธ์


ต่อไปนี้จะเล่า ถึงอาหารอร่อย
คือส้มตำกินบ่อยๆ รสชาติแซบดี
วิธีทำก็ง่าย จะบอกได้ต่อไปนี้
มันเป็นวิธี วิเศษเหลือหลาย
ไปซื้อมะละกอ ลูกพอเหมาะเหมาะ
สับสับเฉาะเฉาะ ไม่ต้องมากมาย
ตำพริกกับกระเทียม ยอดเยี่ยมกลิ่นอาย
น้ำปลามะนาวน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บถ้ามี
ปรุงรสให้แซบหนอ ใส่มะละกอลงไป
อ้อ อย่าลืมใส่ กุ้งแห้งป่นของดี
มะเขือเทศเร็วเข้า ถั่วฝักยาวใส่เร็วรี่
เสร็จสรรพแล้วซี ยกออกจากครัว
กินกับข้าวเหนียว เที่ยวแจกให้ทั่ว
กลิ่นหอมยวนยั่ว น่าน้ำลายไหล
จดตำราจำ ส้มตำลาวเอาตำรามา
ใครหม่ำเกินอัตรา ระวังท้องจะพัง
ขอแถมอีกนิด แล้วจะติดใจใหญ่
ไก่ย่างด้วยเป็นไร อร่อยแน่จริงเอย